Google Sites หนึ่งในฟีเจอร์ของ Google Workspace ทำให้คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง ถึงแม้คุณจะไม่มีทักษะการเขียนโปรแกรมก็ตาม เพราะ Google Sites ช่วยให้ง่ายขึ้นด้วยการคลิก ลาก และวางเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ธุรกิจ เว็บไซต์งานกิจกรรม ก็สามารถสร้างได้ง่ายๆเพียง 6 ขึ้นตอนต่อไปนี้
หมายเหตุ: ทำความรู้จักกับ Google Sites ได้ที่ สร้างเว็บไซต์ง่ายๆ ไม่ง้อโปรแกรมเมอร์ด้วย Google Sites
จากหน้าแรกของ Sites ให้คลิกสร้าง+ ที่ด้านบน หรือเลือกเทมเพลตโดยคลิก Template gallery (แกลเลอรีเทมเพลต)
จาก Google ไดรฟ์ ให้คลิก New (ใหม่) > More (เพิ่มเติม) > Google Sites
Title site (ชื่อเอกสารของเว็บไซต์) ชื่อเอกสารของเว็บไซต์จะปรากฏให้คุณเห็นเท่านั้น และคุณไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้
Site name (ชื่อเว็บไซต์) ชื่อเว็บไซต์จะปรากฏในส่วนหัวและในแถบชื่อหน้าต่างของเว็บหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่หลังจากที่คุณเผยแพร่เว็บไซต์ เพื่อให้ชื่อเว็บไซต์ของคุณปรากฏคุณต้องมีหน้าเว็บ 2 หน้าขึ้นไป
Page title (ชื่อหน้าเว็บ) แต่ละหน้าในเว็บไซต์จะมีชื่อซึ่งจะปรากฏที่ด้านบนของหน้าเว็บ และชื่อหน้าเว็บจะปรากฏในเมนูการนำทางด้วย
สามารถเลือกได้โดยคลิก Layouts (เลย์เอาต์) ที่ด้านขวาตามรูปภาพ
เลือกรูปแบบให้กับเว็บไซต์ของคุณ โดยแต่ละธีมจะมีพื้นหลังที่กำหนดล่วงหน้า รูปแบบสี และการเลือกฟอนต์ คุณจะปรับเปลี่ยนแบบอักษร สี และพื้นหลังในภายหลังได้ และยังเปลี่ยนธีมได้ทุกเมื่อหลังจากสร้างเว็บไซต์แล้ว หากต้องการเปลี่ยนแปลง ให้คลิกเลิกทำหรือทำซ้ำ
4.1 เปลี่ยนภาพพื้นหลัง
ไปที่ Sites และเปิดไซต์
ชี้ไปที่ภาพพื้นหลังแล้วคลิก Change image (เปลี่ยนรูปภาพ)
เลือกตัวเลือกต่อไปนี้
หากต้องการอัปโหลดรูปภาพจากคอมพิวเตอร์ ให้คลิก Upload (อัปโหลด)
หากต้องการเลือกรูปภาพจากแกลเลอรีหรือตำแหน่งอื่น ให้คลิก Select image (เลือกรูปภาพ)
หากต้องการกลับไปที่ภาพพื้นหลังเดิม ให้คลิก Reset (รีเซ็ต)
4.2 เปลี่ยนประเภทส่วนหัว
ชี้ไปที่ภาพพื้นหลังและคลิก Header type (ประเภทส่วนหัว) สามารถเลือกตัวเลือกต่อไปนี้ได้
Cover (หน้าปก)
Large Banner (แบนเนอร์ขนาดใหญ่)
Banner (แบนเนอร์)
Title only (ชื่อเท่านั้น)
4.3 เปลี่ยนธีมและรูปแบบตัวอักษร
คลิก Themes (ธีม) ที่มุมขวาบน
เลือกธีมและเลือกสี
คลิกรูปแบบตัวอักษรและเลือกรูปแบบ
5. การเพิ่ม จัดลำดับใหม่ และวางซ้อนหน้าเว็บ
คุณสามารถเพิ่มหน้าเว็บสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม และสามารถเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกันโดยการวางซ้อนหน้าเว็บ จากนั้นหน้าเว็บที่ซ้อนกันจะปรากฏเป็นหัวข้อย่อยของหน้าเว็บอื่นอีกด้วย
5.1 วิธีเพิ่มหน้าเว็บมีดังนี้
ที่มุมขวาบน ให้คลิก Page (หน้าเว็บ) ชี้ไปที่+ เพื่อสร้าง
เลือกตัวเลือกต่อไปนี้
หากต้องการเพิ่มหน้าเว็บใหม่ ให้คลิกเพิ่มหน้าเว็บ ตั้งชื่อหน้าเว็บแล้วคลิกเสร็จสิ้น
หากต้องการเพิ่ม URL ให้คลิกเพิ่มลิงก์
5.2 วิธีซ้อนหรือเรียงลำดับหน้าเว็บใหม่มีดังนี้
คลิกหน้าเว็บ
ลากหน้าเว็บขึ้นหรือลงในรายการเพื่อเรียงลำดับใหม่
ลากหน้าเว็บที่ด้านบนของอีกหน้าเพื่อซ้อนกัน
หากต้องการยกเลิกการซ้อนหน้าเว็บ ให้ลากไปยังด้านล่างสุดของรายการ
หมายเหตุ: คุณจะซ้อนหน้าเว็บได้เพียง 5 ระดับเท่านั้น
5.3 วิธีเลือกตัวเลือกหน้าเว็บมีดังนี้
ในส่วนหน้าเว็บ ให้เลือกหน้าเว็บแล้วคลิกเพิ่มเติม ถัดจากหน้าดังกล่าว จากนั้นเลือกตัวเลือกดังนี้
Make homepage (ตั้งค่าเป็นหน้าแรก)
Duplicate page (ทำหน้าเว็บซ้ำ)
Properties (เปลี่ยนชื่อหน้าเว็บ)
Add subpage (สร้างหน้าย่อย)
Hide from navigation (ซ่อนจากหน้าการนำทาง)
Delete (ลบหน้าเพจ)
หมายเหตุ:
ไม่สามารถซ่อนหน้าเว็บที่ตั้งเป็นหน้าแรก
ไม่สามารถลบหน้าเว็บที่ตั้งเป็นหน้าแรกออกไม่ได้
6. ตั้งค่าการนำทาง (Navigation) ของเว็บไซต์
หากมีหน้าเว็บมากกว่าหนึ่งหน้า ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะใช้เมนูการนำทางเพื่อข้ามไปยังหน้าต่างๆ ได้ ซึ่งเมนูการนำทางจะอยู่ด้านบนสุดของเว็บไซต์โดยค่าเริ่มต้น ให้คลิกหน้าแรกเพื่อดูเมนูที่มุมขวาบน
คุณสามารถย้ายเมนูการนำทางไปทางซ้ายได้ตามความต้องการ แต่ต้องมีหน้าเว็บอย่างน้อยหนึ่งหน้าบนเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งที่ปรากฏ
6.1 วิธีการเลือกโหมดการนำทาง
ชี้ไปที่ชื่อเว็บไซต์และคลิก Navigation settings (การตั้งค่าการนำทาง)
เพียงเท่านี้เว็บไซต์ของคุณก็พร้อมแชร์ได้ทันที ซึ่งคุณยังสามารถตั้งค่าเลือกเผยแพร่เว็บไซต์เพื่อให้ทุกคนเห็น หรือจำกัดสิทธิ์การแชร์เพื่อให้ผู้ใช้ที่คุณต้องการแชร์ให้เห็นเท่านั้นที่เข้าถึงเว็บไซต์ได้ เมื่อคุณเริ่มสร้างเว็บไซต์ใหม่ระบบจะบันทึกไปยังไดรฟ์โดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับไฟล์อื่นๆ ที่เก็บไว้ในไดรฟ์ คุณจะแก้ไข Google Site ร่วมกับผู้อื่นได้แบบเรียลไทม์ เช่นเดียวกับแอปพลิเคชันอื่นๆจาก Google Workspace